หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ (ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม(กว)สาขาโยธา)
มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ โดยนักศึกษาต้องมีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธา สำหรับงานด้านออกแบบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเรียนด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ อุทกวิทยา วิศวกรรมระบายน้ำ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมสำรวจ ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับ งานด้านออกแบบระบบชลประทานภายใต้แรงดันและระบบประปา การวางแผนและประเมินโครงการชลประทาน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การใช้ระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแบบยั่งยืน
แนวทางประกอบอาชีพ
- หน่วยงานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมชลประทาน, กรมทรัพยกรน้ำ, กรมอุตุนิยมวิทยา กรมน้ำบาดาล, การประปา, กรมพัฒนาที่ดิน, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และหน่วยงานที่กี่ยวข้อง
- บริษัทเอกชน ด้านที่ปรึกษาทางวิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมโยธา โรงงานน้ำตาลและบริษัทออกแบบด้านระบบให้น้ำ
- ประกอบธุรกิจของตนเองด้านวิศวกรรมชลประทาน ระบบให้น้ำในภาคเกษตรกรรม
- นักวิชาการในสถาบันการศึกษาที่ผลิตระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือผู้สอนในสถาบัน การศึกษาที่ ผลิตระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
- นักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
จุดเด่นการเรียน-การสอน
โดยเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเรียนการสอน เพื่อให้เข้ากับความก้าวหน้าทางวิทยาการในปัจจุบันสำหรับการทำงานและวิเคราะห์ปัญหาในวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ
กลุ่มงาน วิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ พิจารณาปัญหาของน้ำตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยศึกษาเกี่ยวกับออกแบบอาคารส่งน้ำ ระบบส่งน้ำประเภทต่างๆ ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธา รวมถึงจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่ออุปโภคและบริโภค
ออกแบบอาคารส่งน้ำ
กลุ่มงาน วิศวกรรมโยธาสำหรับงานด้านวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ
เน้นงานออกแบบชลประทาน รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) การประยุกต์อากาศไร้คนขับ (Drone) ในงานวิศวกรรมสำรวจ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานชลประทาน
กลุ่มงาน คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภาพถ่ายดาวเทียม และ แบบจำลองวิเคราะห์ปัญหา
เน้นงานวิศวกรรมชลประทานและการจัดการน้ำ การจำลองน้ำท่วม ภัยแล้ง และคุณภาพน้ำ งานด้านประปา การกัดเซาะตลิ่งและชายฝั่ง เป็นต้น
กลุ่มงาน ออกแบบระบบชลประทานภายใต้แรงดัน ในงานออกแบบและติดตั้งระบบน้ำแบบหยด (Drip) แบบฉีดฝอย (Sprinkler) ระบบน้ำในงานภูมิทัศน์และสนามกอล์ฟ ระบบน้ำในแปลงนา และการปลูกพืชไม่ใช้ดิน โดยประยุกต์ใช้ระบบควบคุมอัจฉริยะ (Smart farm) สำหรับการให้น้ำในโรงเรือน